กำลังสำรอง คือพลังแห่งมวลชน คือพลังรักษาดินแดน
โดย กองกิจการพลเรือน นรด.
“กำลังสำรอง” หมายถึง กำลังที่มิใช่กำลังประจำการและกองประจำการที่เตรียมไว้เพื่อปกป้องอธิปไตย ของชาติ แต่คือการประกอบกันของกำลังกลุ่มต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย กำลังพลสำรอง กำลังกึ่งทหาร กลุ่มพลัง มวลชนจัดตั้งโดยมีกฎหมายรองรับ และกลุ่มพลังมวลชนอื่นๆ กำลังสำรอง ประกอบด้วยกำลังต่างๆ 4 กลุ่ม ได้แก่
1. กำลังพลสำรอง อาทิ ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3, ชั้นปีที่ 5 และพลทหารกองประจำการที่รับ ราชการครบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นกำลังสำรองที่ ทบ. สามารถนำมาใช้ในภารกิจทางทหาร และยังสามารถสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของกระทรวงกลาโหมได้ตามที่กฎหมายกำหนด
2. กำลังกึ่งทหาร เช่น ตำรวจตระเวนชายแดน หน่วยอาสาสมัครทหารพราน และหน่วยกองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดน ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลพลเรือนที่ได้รับการฝึกวิชาทหารให้มีความสามารถในการทำการรบ
3. กลุ่มพลังมวลชนจัดตั้งโดยมีกฎหมายรองรับ เช่น นักศึกษาวิชาทหาร ไทยอาสาป้องกันชาติ และกลุ่ม กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ
4. กลุ่มพลังมวลชนอื่นๆ เช่น กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดน สมาคมศิษย์เก่า นักศึกษาวิชาทหาร สมาคมกำลังสำรองรักษาดินแดนไทย ชมรมการกำลังสำรองแห่งประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งเป็น กลุ่มที่ประกอบขึ้นจากบุคคลพลเรือนที่มีเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนภารกิจของกองทัพ
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นจะเห็นได้ว่า กำลังสำรอง เป็นกำลังที่ประกอบขึ้นจากกลุ่มบุคคลทุกสถานภาพทาง สังคม ไม่จำกัดเพศ อายุ อาชีพ การศึกษา ขอเพียงมีเป้าหมายเดียวกัน คือ มีจิตสำนึกรักชาติ และอาสาเข้าร่วมกับ กลุ่มพลังมวลชนต่างๆ ที่ได้จัดตั้งขึ้น โดยในยามสถานการณ์บ้านเมืองเป็นปกติจะเป็นการรวมตัวกันเพื่อทำ ประโยชน์ให้กับประเทศชาติตามขีดความสามารถของตน
สรุปสั้นๆ ได้ว่า … “กำลังสำรอง คือพลังแห่งมวลชน คือพลังแห่งการรักษาดินแดน”

ผู้บังคับบัญชา

ผู้บังคับบัญชา

ฟังสบายๆ สไตล์ รด.